วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนทำ คศ.3

ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
หลักเกณฑ์

1. ผู้ที่จะขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้
1.1 ดำรงตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะครูชำนาญการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.
เทียบเท่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
1.2 ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.3
1.3 ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีผลงานที่เกิดจาก
การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยพิจารณาจาก
2.1.1 การมีวินัย
2.1.2 การประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
2.1.3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
2.1.4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ
2.1.5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ
2.2 ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ดังนี้
2.2.1 สมรรถนะหลัก
(1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์
(2) การบริการที่ดี
(3) การพัฒนาตนเอง
(4) การทำงานเป็นทีม

2.2.2 สมรรถนะประจำสายงาน
(1) การออกแบบการเรียนรู้
(2) การพัฒนาผู้เรียน
(3) การบริหารจัดการชั้นเรียน
2.3 ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในด้านการเรียน การสอน โดยพิจารณาจาก
2.3.1 ผลการปฏิบัติงาน
(1) การจัดการเรียนรู้
(2) การพัฒนาวิชาการ
(3) ผลที่เกิดกับผู้เรียน
2.3.2 ผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 1 รายการ
3. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้พิจารณาจากเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงาน
ที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอ และอาจพิจารณาจากการปฏิบัติจริงด้วยก็ได้
4. การประเมินผลงานทางวิชาการให้ประเมินจากเอกสารผลงานทางวิชาการ
และอาจให้ผู้ขอนำเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้
ในกรณีที่อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเห็นสมควรให้ปรับปรุงผลงานทางวิชาการ
ให้ผู้ขอปรับปรุงตามข้อสังเกต ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งมติ
แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการชุดเดิมพิจารณา
5. เกณฑ์การตัดสิน
ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
5.1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และด้านคุณภาพ
การปฏิบัติงาน ผลการประเมินแต่ละด้านต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 70

5.2 ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ที่ผ่านการประเมินจะต้องได้คะแนน
จากกรรมการแต่ละคน ดังนี้
5.2.1 ผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
5.2.2 ผลงานทางวิชาการ ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65
5.2.3 คะแนนรวม ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการประเมินในข้อ 5.2 จะต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์เป็นเอกฉันท์
โดยเป็นเอกฉันท์ทั้งส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ และคะแนนรวม
6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมิน ให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
มีผลไม่ก่อนวันที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับรายงานผลการปฏิบัติงานและผลงาน
ทางวิชาการ ในกรณีที่มีการปรับปรุงผลงานทางวิชาการ ให้อนุมัติได้ไม่ก่อนวันที่สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาได้รับผลงานทางวิชาการที่ปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว
7. ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะต้องผ่าน
การพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ผลการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้นำไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะได้ภายใน 5 ปี
นับแต่วันที่ผู้นั้นสำเร็จหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้ง
ให้ดำรงวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
8. เมื่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาผลการประเมินและมีมติเป็นประการใดแล้ว
ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด
9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายถึงส่วนราชการด้วย และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษา ให้หมายถึง อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งด้วย

วิธีการ
1. ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ประสงค์จะขอรับการประเมิน
ยื่นคำขอได้ปีละ1ครั้ง โดยส่งคำขอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอ
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระหว่างวันที่1 – 30 เมษายน หรือ
ระหว่างวันที่ 1 – 31 ตุลาคม
2. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
3. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการพัฒนาการทำผลงานทางวิชาการ และ
พัฒนาก่อนแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
4. การตั้งคณะกรรมการประเมิน
4.1 คณะกรรมการประเมินด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
และด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน
ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการ จำนวนสามคน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้
ความสามารถเหมาะสม และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะหรือตำแหน่งอื่น
ที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่าไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่ง
เป็นประธานกรรมการ
กรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่สามารถตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ของผู้ขอรับการประเมินเป็นกรรมการได้ ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาตั้งผู้อำนวยการ
สถานศึกษาอื่นได้ตามความเหมาะสม
4.2 กรรมการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
ให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถ
และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่จะตรวจและประเมิน จากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ตามความเหมาะสมเป็นกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ
การประเมินผู้ขอหนึ่งราย ให้มีกรรมการประเมินสามคน
/5. การประเมิน...
- 19 -
5. การประเมินด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และการประเมิน
ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ให้ดำเนินการพร้อมกัน แล้วนำผลการประเมินเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษาพิจารณา
5.1 กรณีไม่ผ่านการประเมินด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ให้แจ้งผู้ขอรับ
การประเมินทราบเพื่อพัฒนาในการที่จะขอรับการประเมินใหม่
5.2 กรณีผ่านการประเมินทั้งสองด้าน ให้แจ้งผู้ขอรับการประเมินเสนอรายงาน
ผลการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ อย่างละ 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบ
และรับรอง แล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในรอบปีที่
เสนอขอ หากไม่ส่งตามกำหนด ถือว่าสละสิทธิ์
6. ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาส่งรายงานผลการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการ
ให้กรรมการประเมินผลงานพิจารณา
7. เมื่อกรรมการประเมินเสร็จแล้วให้นำผลการประเมินเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษาพิจารณา
8. กรณีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามีมติไม่อนุมัติ ผู้ขออาจส่งคำขอรับการประเมินใหม่
ได้ในปีต่อ ๆ ไป สำหรับผู้ที่ส่งคำขอเดือนเมษายนจะส่งคำขอใหม่ได้ไม่ก่อนเดือนเมษายน
ของปีต่อไป ส่วนผู้ที่ส่งคำขอเดือนตุลาคมจะส่งคำขอใหม่ได้ไม่ก่อนเดือนตุลาคมของปีต่อไป
กรณีอนุมัติ ถ้าผู้ขอผ่านการพัฒนาก่อนแต่งตั้งแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53
สั่งแต่งตั้ง
9. เมื่อดำเนินการแต่งตั้งแล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งจำนวน1ชุดให้สำนักงาน ก.ค.ศ.
ภายใน 7 วัน นับแต่วันออกคำสั่ง

แนะนำตัวเอง

สวัสดีครับ
   
    วันนี้เป็นวันแรกที่ได้สร้าง Blog นี้ ซึ่งจะนำผลงานที่ได้ปฏิบัติมาเผยแพร่  รอไม่นานจะได้นำมาเสนอ

ต่อไป